วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามที่รัฐบาลจะขยายโอกาส เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา แก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก ไม่บังคับให้เข้าฟังบรรยาย แต่ยังคงใช้วิธีการจัดการศึกษา ในลักษณะเดียวกับ มหาวิทยาลัยทั่วไป คือใช้ชั้นเรียนเป็นหลัก นักศึกษาอาจศึกษาได้ด้วยตนเอง หรืออาจเข้าฟังบรรยาย หรือไปพบอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เปลี่ยนมาเป็นระบบจำกัดการรับนักศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ


ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเปิดหลักสูตรการศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ์ในระยะที่เปิดสอนในระบบตลาดวิชา และสามารถรับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมาก แต่ยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก เช่นเดียวกันทำให้มากวิทยาลัย รามคำแหงประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาคารสถานที่เรียน ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี

หากมหาวิทยาลัยรามคำแหงจะขยายการจัดการศึกษาที่ดำเนินการอยู่นี้ให้เพียงพอกับความต้องการ ของผู้เรียนแล้ว รัฐบาลและมหาวิทยาลัยจะต้องรับภาระหนักในด้านการลงทุนซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อเป็นการขยายและกระจายโอกาส ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด รัฐบาลจึงดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

โรงเรียนโคกกะเทียม จังหวัดลพบุรี


ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน

ตำบลโคกกะเทียม มีหน่วยราชการทหารขนาดใหญ่อยู่ 2 หน่วย คือ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ และกองบินนอกจากนี้แล้ว ยังมีหมู่บ้าน ราษฎรที่เพิ่มปริมาณขึ้นจำนวนมากความต้องการด้านการศึกษาของบุตรธิดาข้าราชการ และชาวบ้านจึงมีความจำเป็นยิ่งขึ้น แต่สถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป มีเฉพาะในตัวจังหวัดซึ่งห่างไกลท้องถิ่น นี้ประมาณ 12 กิโลเมตร ซึ่งสร้างความลำบากให้กับนักเรียน และผู้ปกครอง พอสมควร ดังนั้น ด้วยการสนับสนุนของฝ่ายทหาร อาทิ พลตรีอุทัย วงค์วีรเดช รองจเรทหารบกในขณะนั้น พลตรีเฉลิม พงษ์สวัสดิ์ ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ และนายชลอ วนะภูติผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมกันเสนอเรื่องถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนนี้ขึ้น พร้อมทั้งจัดหาเงินมาให้ทำการก่อสร้างงวดแรกถึง 3 ล้านบาท แลัวยังปรารภว่า จะให้ ขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้จังหวัดลพบุรีเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของชาติในเขตภาคกลางดังนั้น คณะกรรมการ
โดยมี พลตรีเฉลิม พงษ์สวัสดิ์ เป็นประธานได้กำหนดสถานที่ คือที่ดินของศูนย์การทหารปืนใหญ่ บริเวณเขาน้ำโจน เป็นสถานที่ก่อสร้าง กำหนด วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2495 โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธี โดยวงเงินงบประมาณ 3 ล้านบาท ได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2496 เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง จำนวน 24 ห้องเรียน โรงอาหาร 1 หลัง ถังน้ำฝน 2 ถัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง ส้วม 2 หลัง 12 ห้อง พร้อมโต๊ะเก้าอี้ และครุภัณฑ์อื่น ๆ อีกตามสมควรเมื่อเปิดทำการสอนครั้งแรก มีครู 16 คน มีนักเรียน 434 คน เปิดสอนระดับ ม.1 - 6 โดยมีนายเขียว มัณฑารมย์ ครูใหญ่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย รักษาการแทน จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2496 จึงได้ส่งนายโปร่ง ส่งแสงเติม มาเป็นครูใหญ่คนแรกกิจการได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ และได้รับการสนับสนุนจาก กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดเข้าโครงการต่าง ๆ ดังนี้

พ.ศ. 2502 โครงการ คพศ.
พ.ศ. 2511 โครงการ คมพ.
พ.ศ. 2516 ขยายชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. 2519 โครงการ คมภ.2
พ.ศ. 2535 ขยายโอกาสทางการศึกษา
พ.ศ. 2537 โครงการ ลบส.
พ.ศ. 2538 โครงการปฏิรูปทางการศึกษา

ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี



ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด
ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า "ศาลสูง" ที่ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทำด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็ก ชั้นบน ณ ที่นี่ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี มีร้านขายของที่ระลึก และอาหารสำหรับลิง ตลอดจนศาลาพักผ่อนมีถนนตัดรอบทำให้โบราณสถานมีลักษณะเป็นวงเวียน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ศาลพระกาฬ สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง แต่ก่อนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ศาลสูง" ทับหลัง ซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 สมัยขอมเรืองอำนาจ วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ประทับยืน ซึ่งเดิมพระกร และพระเศียร หายไป แต่ต่อมามีผู้นำพระเศียร ของพระสมัยอู่ทอง และพระกรมาต่อ ตามตำนานกล่าวว่า ที่พระกรหายไปทั้งหมดเพราะ พระกาฬไปรับลูกระเบิด พระกรจึงขาดหายไปหมด
ในบริเวณรอบศาลพระกาฬมี
ลิงประมาณ 300 ตัว เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี บริเวณนี้มีต้นกร่างขนาดใหญ่ (แต่ปัจจุบันมีไม่มาก มีแต่ต้นมะขามเทศ) เป็นที่อาศัยของลิง เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาไหว้ที่ศาลพระกาฬ ลิงได้เข้ามากินอาหาร

วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน


วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ


ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร